แนวทางเวชปฏิบัติทางอายุรกรรมปี 2558

frontpage

ข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เวชปฏิบัติในยุคปัจจุบันต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย และถูกต้องอยู่เสมอ ดังนั้น แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ จึงได้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guideline) เกี่ยวกับโรคหรือภาวะที่สำคัญ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าถึงและใช้งาน เพิ่อเป็นแนวทางให้แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขสาขาอื่นๆ ช่วยในการตัดสินใจทั้งในด้านต่างๆ เช่น การวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย

Continue reading “แนวทางเวชปฏิบัติทางอายุรกรรมปี 2558”

เทคนิคโฟโมโดโร: ตัวช่วยจัดการเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

โฟโมโดโร (Pomodoro) เป็นเทคนิคจัดการเวลาที่ช่วยให้ผู้ใช้โฟกัสกับงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้วิธีการแบ่งงานออกเป็นช่วงสั้นๆ สลับกับการพักระยะสั้นๆ เทคนิคนี้ถูกคิดค้นโดย Francesco Cirillo ชาวอิตาลี ในปี 1980

วิธีการใช้เทคนิคโฟโมโดโร

  1. เตรียมนาฬิกาจับเวลา ตั้งเวลา 25 นาที
  2. เลือกงานที่ต้องการจะโฟกัส
  3. เริ่มทำงานเมื่อนาฬิกาจับเวลาเริ่มทำงาน
  4. โฟกัสกับงานอย่างเต็มที่ ห้ามทำอย่างอื่น
  5. เมื่อนาฬิกาจับเวลาหมด 25 นาที หยุดพัก 5 นาที
  6. ทำซ้ำขั้นตอน 1-5 อีก 3 ครบ
  7. พัก 15-30 นาที
Continue reading “เทคนิคโฟโมโดโร: ตัวช่วยจัดการเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน”

นวัตกรรมทางการแพทย์: ประเภทและตัวอย่าง

นวัตกรรม (Innovation) ทางการแพทย์ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและยกระดับระบบการดูแลสุขภาพ ช่วยให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัยยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยยืดอายุขัยและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นวัตกรรมทางการแพทย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

  1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) เป็นการพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) สำหรับการรักษามะเร็ง, วัคซีน mRNA สำหรับป้องกันโรค COVID-19, เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) สำหรับพิมพ์อวัยวะเทียม หรือหุ่นยนต์ผ่าตัด
  2. นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) เป็นการนำเสนอบริการใหม่ที่เกิดจากการสร้างขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงสิ่งเดิม เช่น การใช้ Telemedicine เพื่อให้การปรึกษาแพทย์ทางไกล หรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery)
  3. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือวิธีการผลิตสินค้า หรือการให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม ด้วยการพัฒนาสร้างสรรค์กระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางเทคโนโลยี กระบวนการ และเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิด วิธีการ หรือกระบวนการใหม่ ๆ ที่ส่งผลให้กระบวนการผลิตและการทำงานโดยรวมให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงขึ้น เช่น การจัดส่งยาถึงบ้าน (Home Delivery) หรือโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
  4. นวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation) เป็นการใช้ความทางด้านการบริหารจัดการมาปรับปรุงระบบโครงสร้างเดิมขององค์กร สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น การใช้ระบบสารสนเทศสุขภาพ (Electronic Health Records) หรือการบริหารจัดการคลังยาแบบอัตโนมัติ

นวัตกรรมทางการแพทย์ มีผลดีต่อระบบการดูแลสุขภาพ ช่วยให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัยมากขึ้น ช่วยยืดอายุขัยและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ช่วยให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ระบบการดูแลสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น

CURB-65 กับ pneumonia: เกณฑ์การประเมินความรุนแรงและความเสี่ยง

CURB-65 เป็นระบบการให้คะแนนที่ใช้คาดการณ์ความเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอักเสบในชุมชน (community-acquired pneumonia) ประกอบด้วย 5 ตัวแปร ดังนี้

C – Confusion: ผู้ป่วยมีอาการสับสนหรือมึนงง
U – Urea: ระดับยูเรียในเลือดสูงกว่า 19 mg/dL (>7 mmol/L urea)
R – Respiratory rate: อัตราการหายใจมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ครั้งต่อนาที
B – Blood pressure: ความดันโลหิตซิสโตลิกต่ำกว่า 90 mmHg หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิกต่ำกว่า 60 mmHg
65 – Age: อายุ 65 ปีขึ้นไป

ผู้ป่วยจะได้รับคะแนน 1 คะแนนสำหรับแต่ละตัวแปรที่มี คะแนน CURB-65 ที่สูงบ่งบอกถึงความเสี่ยงของการเสียชีวิตที่สูงขึ้น โดย

  • คะแนน 0: ความเสี่ยงต่ำ (0.5%)
  • คะแนน 1: ความเสี่ยงปานกลาง (1.5%)
  • คะแนน 2: ความเสี่ยงสูง (4.8%)
  • คะแนน 3: ความเสี่ยงสูงมาก (11.8%)
  • คะแนน 4: ความเสี่ยงสูงสุด (28.6%)
Continue reading “CURB-65 กับ pneumonia: เกณฑ์การประเมินความรุนแรงและความเสี่ยง”

ปลุกไฟในใจพนักงานด้วยทฤษฎี 2 ปัจจัยของ Herzberg

ความพึงพอใจ ของพนักงานเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ทฤษฎีแรงจูงใจ 2 ปัจจัย (Two-Factor Theory) ของ Frederick Herzberg เสนอแนวทางในการสร้างแรงจูงใจและความพึงพอใจในพนักงาน โดยแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อความรู้สึกของพนักงานออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factors) และ ปัจจัยสุขอนามัย (Hygiene Factors)

Continue reading “ปลุกไฟในใจพนักงานด้วยทฤษฎี 2 ปัจจัยของ Herzberg”

ระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning Signs) ที่ถูกมองข้าม

ในวันหนึ่งที่อากาศร้อนจัด ผมขับรถยนต์ออกมากินข้าวกลางวันนอกที่ทำงาน ขณะที่สตาร์ทรถเพื่อที่ขับรถกลับ ผมได้ยินเสียงเครื่องยนต์ “ดังจื๊ดๆคล้ายไฟช็อต” แม้จะรู้สึกแปลกใจแต่ผมก็ไม่ได้ใส่ใจกับมันมาก เพราะรถยังคงขับขี่ได้ตามปกติ

ต่อมาหลังเลิกงาน ขณะที่ผมขับรถกลับบ้านก็ยังได้ยินเสียงผิดปกติเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมคือรู้สึกว่า “แอร์ไม่ค่อยเย็น” และ “พวงมาลัยเบา” ผิดปกติด้วย แต่ผมก็ยังไม่สนใจเหมือนเดิม หลังจากนั้นขณะที่ผมกำลังขับๆอยู่ไฟหน้าปัดก็ขึ้นเครื่องหมายเตือนแบตเตอรี่ แล้วทันใดนั้นเครื่องยนต์ก็ดับลงทันที โชคดีที่ขณะนั้นผมรถติดไฟแดงและอยู่เลนขวา ผมจึงแอบบรถเข้าข้างทางได้ สตาร์ทรถติดแล้วก็ดับอีก จึงต้องตามช่างมาดู สรุปว่าไดชาร์จซึ่งเป็นตัวปั่นไฟเพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในรถยนต์เสีย ทำให้ไม่สามารถปั่นไฟเพื่อเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้ เมื่อแบตเตอรี่ไม่มีไฟ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด รถผมใช้มา 12 ปีแล้ว อุปกรณ์ต่างๆย่อมมีโอกาสชำรุดเสียหาย ซึ่งก่อนหน้าก็มีสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าหลายอย่าง แต่ผมกลับมองข้ามไป จนเกือบแย่เลยครับ

ระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning Signs) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเฝ้าระวังทางการแพทย์ ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถรักษาได้ทันท่วงทีและป้องกันผลลัพธ์ที่ร้ายแรง

Continue reading “ระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning Signs) ที่ถูกมองข้าม”

ชีวิตที่คุ้มค่า: บทเรียนจากหนังสือ “How Will You Measure Your Life?”

“How Will You Measure Your Life?” เขียนโดย Clayton M. Christensen อาจารย์จาก Harvard Business School แปลเป็นภาษาไทยชื่อ “ปัญญาวิชาชีวิต”โดย คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่แค่การบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ Christensen แต่เป็นการแบ่งปันปรัชญาและหลักการที่เขาใช้ในการวัดความสำเร็จของชีวิต

ประเด็นหลักของหนังสือ

  • การตั้งคำถาม: แทนที่จะใช้ชีวิตตามกรอบความคิดแบบดั้งเดิม Christensen กระตุ้นให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่สังคมคาดหวัง
  • การวัดผล: อะไรคือตัววัดความสำเร็จที่แท้จริงของชีวิต? Christensen เสนอให้เรามองข้ามความสำเร็จทางวัตถุ และให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ การเติบโต และการสร้างคุณค่า
  • การให้: Christensen เชื่อว่า การอุทิศตนเพื่อสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเอง เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสุขที่แท้จริง
  • การพัฒนาตนเอง: Christensen เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้และเติบโตอย่างต่อเนื่อง
  • การสร้างความแตกต่าง: Christensen กระตุ้นให้เราสร้าง impact ให้กับโลก
Continue reading “ชีวิตที่คุ้มค่า: บทเรียนจากหนังสือ “How Will You Measure Your Life?””

รีวิวหนังสือ: Managing Oneself – จัดการตัวเองให้สำเร็จ

Managing Oneself เขียนโดย Peter F. Drucker แปลเป็นภาษาไทยชื่อ “ปัญญางาน จัดการตน”โดย คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวทางการจัดการตัวเองเพื่อบรรลุเป้าหมายและความสำเร็จในชีวิต ผ่านมุมมองของ Drucker ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎการบริหารจัดการที่มีชื่อเสียง

เนื้อหาหลักของหนังสือ:

  • การรู้จักตนเอง: เริ่มต้นด้วยการเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน ความชอบ ความสนใจ และค่านิยมของตัวเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและเลือกเส้นทางที่เหมาะสม
  • การกำหนดเป้าหมาย: ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ท้าทาย และวัดผลได้ แบ่งเป้าหมายใหญ่ ๆ ลงเป็นขั้นตอนย่อย ๆ เพื่อติดตามความคืบหน้าและสร้างแรงจูงใจ
  • การจัดการเวลา: บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ จัดลำดับความสำคัญ วางแผนงาน และจัดตารางเวลาอย่างเหมาะสม
  • การตัดสินใจ: ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ พิจารณาข้อมูลอย่างรอบคอบ ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
  • การเรียนรู้: เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • การทำงาน: ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นผลลัพธ์ ทำงานเป็นทีม
  • การรักษาสุขภาพ: ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารอย่างมีประโยชน์
  • การสร้างความสัมพันธ์: พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานเป็นทีม
Continue reading “รีวิวหนังสือ: Managing Oneself – จัดการตัวเองให้สำเร็จ”

แนวทางการดูแลผู้ป่วย โรคระบบทางเดินหายใจตามนโยบาย Smart energy and climate action

กรมการแพทย์ได้จัดทำ แนวทางการดูแลผู้ป่วย โรคระบบทางเดินหายใจตามนโยบาย Smart energy and climate action

เนื้อหา ประกอบด้วย

  • แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจตามนโยบาย Smart Energy and Climate Action
  • แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีอาการกำเริบจากผลกระทบของ PM 2.5 หรือจากการประกอบอาชีพ
  • บริการทางการแพทย์ทางไกลสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • บริการทางการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยวัณโรคที่ไวต่อยาในผู้ใหญ่
  • บริการทางการแพทย์ทางไกลโรคหืดในผู้ใหญ่
  • บริการทางการแพทย์ทางไกลโรคหืดในเด็ก
  • การแพทย์ทางไกลโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ใหญ่ (Adult Obstructive Sleep Apnea Telemedicine)
  • แบบทดสอบระดับความง่วงนอนเอ็บเวิร์ธฉบับภาษาไทย (The Epworth Sleepiness Scale, ESS)
  • การแพทย์ทางไกลโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก

Download >> แนวทางการดูแลผู้ป่วย โรคระบบทางเดินหายใจตามนโยบาย Smart energy and climate action https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Publication/Attach/25670123132557PM_Smart%20energy%20and%20climate%20action.pdf

ที่มา: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ผู้นำ 4 ทิศ: สไตล์การบริหารที่หลากหลาย

ในโลกของการบริหาร การมีผู้นำที่เก่งกาจ ย่อมนำพาองค์กรไปสู่อนาคตที่สดใส แต่ผู้นำแต่ละคนก็มีสไตล์การบริหารที่แตกต่างกัน เปรียบเสมือนเข็มทิศที่ชี้นำสมาชิกในทีมไปยังเป้าหมาย โดย “ผู้นำ 4 ทิศ” เป็นแนวคิดที่อธิบายถึงสไตล์การบริหาร 4 รูปแบบ เปรียบเสมือนสัตว์ 4 ชนิด ดังนี้

1. ผู้นำแบบ “กระทิง” เปรียบเสมือนผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว มักริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ชอบความท้าทาย และพร้อมเผชิญอุปสรรค ผู้นำแบบนี้เหมาะกับการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังเรื่องความใจร้อน และการไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

2. ผู้นำแบบ “อินทรี” เปรียบเสมือนผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบคิดนอกกรอบ มองภาพรวมเก่ง ชอบโน้มน้าวใจผู้อื่น ผู้นำแบบนี้เหมาะกับการสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้สมาชิกในทีมคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ แต่ต้องระวังเรื่องความวอกแวก และการตัดสินใจโดยปราศจากข้อมูล

3. ผู้นำแบบ “หนู” เปรียบเสมือนผู้นำที่มีความละเอียดรอบคอบ รักความเป็นระเบียบ ชอบวางแผนล่วงหน้า ใส่ใจรายละเอียด และทำงานอย่างมีระบบ ผู้นำแบบนี้เหมาะกับการดูแลงานให้ราบรื่น และป้องกันความผิดพลาด แต่ต้องระวังเรื่องความยืดหยุ่น และการขาดความกล้าเสี่ยง

4. ผู้นำแบบ “หมี” เปรียบเสมือนผู้นำที่ใจเย็น อบอุ่น เข้าถึงง่าย ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในทีม ผู้นำแบบนี้เหมาะกับการสร้างบรรยากาศที่ดีในองค์กร และรักษาความสามัคคี แต่ต้องระวังเรื่องความเด็ดขาด และการตัดสินใจที่ช้าเกินไป

Continue reading “ผู้นำ 4 ทิศ: สไตล์การบริหารที่หลากหลาย”

สมรรถนะทางการบริหาร (Managerial competency) สำหรับข้าราชการ

สำนักงาน ก.พ. กำหนด มาตรฐานและแนวทางการกําหนดความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จําเป็นสำหรับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการมีการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร (Managerial competency) ต่อไปนี้คือหนังสือแนะนำที่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง

  1. สภาวะผู้นำ (Leadership) : “The 21 irrefutable laws of leadership – กฏ 21 ข้อที่ไม่มีผู้นำคนไหนปฏิเสธได้” ของ John C. Maxwell
  2. วิสัยทัศน์ (Visioning) : “Start with Why – ทำไมต้องเริ่มต้นด้วย”ทำไม” ของ Simon Sinek
  3. การวางกลยุทธ์ภาครัฐ (Strategic Orientation) : “Zero to One – จาก 0 เป็น 1” ของ Peter Thiel
  4. ศักยภาพเพื่อนำการปรับเปลี่ยน (Change Leadership) : “Leading Change – การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีวันล้มเหลว” ของ John P. Kotter
  5. การควบคุมตนเอง (Self Control) : “Managing Oneself – ปัญญางาน จัดการตน” ของ Peter F. Drucker, How Will You Measure Your Life? ของ Clayton M. Christensen
  6. การสอนงานและการมอบหมายงาน (Coaching and Empowering Others)