ประเด็นที่มักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเมลิออยด์ (Melioidosis)

โรคเมลิออยด์ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งพบได้ทั่วไปในดินและน้ำ พบเชื้อได้ทั่วประเทศไทย (ไม่ใช่เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้) อัตราการตายสูง (30-40%) โดยกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง: เบาหวาน โรคตับ โรคไต ธาลัสซีเมีย มะเร็งหรือโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ โรคปอดเรื้อรัง

อาการ: ไม่จำเพาะเจาะจง และอาจมาด้วยอาการที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่น ได้แก่ ไข้ ฝี แผล อาการทางปอด (ไอ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย) น้ำหนักตัวลด ชัก ปวดศีรษะ อาการทางเดินปัสสาวะ ข้ออักเสบ มักมาด้วยอาการ sepsis

การวินิจฉัยโรค: การเพาะเชื้อเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มี rapid test ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ ในประเทศไทย พบว่า Melioid titer สามารถให้ผลลวง ทั้งบวกลวงและลบลวง จะไม่ควรใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยผู้ป่วย

การรักษา: ให้ยา Ceftazidime หรือ Imipenem ทางหลอดเลือด อย่างน้อย 10 วัน แล้วให้ Trimetoprim-
Sulfamethoxazole (Cotrimoxazole) แบบกิน (เป็นเวลา 12-20 สัปดาห์)

การป้องกัน: ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงจะมีอาการรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินหรือแหล่งน้ำ เช่นในนาข้าว โดยการสวมรองเท้าบูท ดื่มน้ำต้มสุก

Leave a comment